วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเพาะนกกรงหัวจุก 
    
    การเพาะนกกรงแบบไม่ธรรมชาติ ตามที่ได้มีคนเพาะบนตึกสูง ๆ แล้วไม่ได้ผล มีปัญหาเช่น ไข่ฟักออก ฟักออกแล้วลูกนกตัวเล็ก แห้ง ไม่แข็งแรง ทั้ง ๆ ที่บำรุงเต็มที่แล้ว จึงมุ่งประเด็นไปที่ความชื้นในขณะฟัก ได้มีแนวคิดใหม่โดยการนำไปเข้าเครื่องฟักไข่ ใช้อุณหภูมิต่ำกว่าการฟักไข่ไก่ 1 องศา ปรากฏว่าลูกนกออกเป็นตัวแต่เลี้ยงรอดยากมาก ๆ( มีความพยายามมาก ) ทำยังไงดีละคราวนี้ ไม่มีที่สวน มีไร่กะเขาซะด้วย 
ก็นึกถึงที่ได้เคยพบนกในธรรมชาติได้ทำรัง มักจะอยู่ริมบึงหรือห้วย และมักจะเป็นหน้าฝนเสียเป็นส่วนใหญ่ว่าง ๆ ก็นำตำราการฟักไข่ไก่มานั่งอ่านแก้เหงา อ่านไปอ่านมา ไปสะดุดหัวข้อความชื้นในการฟัก ในตำราการฟักไข่ไก่ได้นำน้ำใส่ถาดมารองใต้ไข่ ก็เกิดความคิด น่าจะนำมาประยุกต์ใช้กันได้ 
นำรังที่แม่นกยังไม่ได้ไข่ ซึ่งมีลักษณะเป็นกิ่งไม้แห้ง ๆ พร้อมรัง ออกมาดัดแปลง โดยหาขันน้ำพลาสติกขนาดเล็กที่มีตะข่ายปิดด้านบนกันลูกนกตกใส่น้ำ มาวางใต้รัง ห่างจากรังประมาณ 4 – 5 นิ้ว แล้วนำกลับไปวางที่เดิม รอจนแม่นกไข่จนครบแล้วจึงเติมน้ำที่สะอาดลงไปสักครึ่งขันก็พอ น้ำพร่องเมื่อใดก็เติมน้ำลงไปอีก 
ข้อควรระวัง 
1. ขณะเติมน้ำ ระวังน้ำกระเด็นโดนไข่อาจทำให้ไข่เสียได้ ให้ใช้ลูกยางดูดน้ำ ดูดใส่จะง่ายดีครับ 
2. ในช่วงหน้าหนาว ถ้าหนาวจัด ๆ กลางวันเติมน้ำ กลางคืนให้ดูดน้ำออก นกจะได้ไม่หนาวเกินไป 
ในบางรายที่เพาะชั้นล่างก็ไม่จำเป็นต้องทำแบบข้างต้น เพราะมีความชื้นจากไอดินอยู่ 
ในอนาคตเมื่อเพาะกันได้มาก ๆ รุ่นหลัง ๆ ก็จะไกลป่า เป็นนกรุ่นลูก ( รุ่น 1 ) รุ่นหลาน( รุ่น 2 ) รุ่นเหลน ( รุ่น 3 ) และต่อไปรุ่น 4 ไปเรื่อย ๆ แบบนกเขาชวา เราก็สามารถเพาะกันได้ง่าย การทำกรงเพาะก็ทำคล้ายกัน ไม่ต้องมีต้นไม้ ไม่ต้องใช้พื้นที่ในการเพาะมาก มีขันน้ำให้ความชื้นก็เพียงพอแล้ว อาจเป็นธุรกิจเกิดขึ้นก็ได้ 
เท่าที่เคยทำได้ 2 เดือน ได้ลูกนก 3 ครอก ได้ปริมาณ แต่คุณภาพไม่เป็นที่น่าพอใจ กำลังพัฒนาอยู่ให้มีคุณภาพตามมาด้วย จะเห็นได้ว่ามักมีคนกล่าวถึงลูกเพาะเล่นได้ไม่นานเหมือนลูกนกป่า ก็จะได้เหมือนได้อย่างไร นกป่าออกเป็นตัวได้ 7 วัน บินได้แล้ว ลูกเพาะ 7 วัน อยู่ในรังอยู่เลย ก็ตั้งข้อสังเกตไว้คือ อาหารเสริม ทำอย่างไรให้ได้ หรือเกือบได้อย่างธรรมชาติ กำลังทดลองอยู่ครับ หรือถ้ามีท่านใดเคยทดลองแล้วได้ผลมาก็กรุณาช่วยเเนะนำด้วยครับ 
ส่วนอาหารก็เหมือน ๆ ที่คุยกัน มีหนอน กล้วย มะละกอ วิตามินต่าง ๆ ขอบคุณบางเรื่องที่คุยกัน ทำให้ผมนึกอะไรออก ในเรื่องที่คิดไม่ออก.. 
ข้อสังเกตเพศนกขณะป้อนอยู่ 
เคยได้ลูกนกจากธรรมชาติมาเลี้ยงหลายครอกอยู่เหมือนกัน ถ้าเป็น 3 ตัว ตัวกลาง และตัวน้องจะเป็นตัวผู้ และตัวพี่มักจะเป็นตัวเมีย ถ้าเป็นรังที่มี 2 ตัว ตัวน้องมักจะเป็นตัวผู้เสมอ แต่มีพ่อแม่พันธ์บางตัว ตัวโตมาก มักจะออกไข่ได้ถึง 5 ฟอง อันนี่ไม่ทราบว่าตัวไหนเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย แต่มักจะมีตัวเมียถึง 2 ตัว จะรู้ได้ตอนเป็นไข่ที่กล่าวมาข้างตนแล้ว 
แต่ที่เพาะได้กลับกันตัวเมียเป็นตัวสุดท้องทุกครอก ซึ่งเหมือนกันกับการเพาะนกเขาใหญ่ ทีนี้ก็คงจะถึงบางอ้อ แต่ก็ไม่แน่เสมอไปครับ แต่ส่วนใหญ่เป็นอย่างที่กล่าวมา 
และคงจะสงสัยต่อว่าตัวไหนตัวพี่ตัวไหนตัวน้อง สังเกตหางลูกนกครับ หางสั้นตัวน้อง หางยาวตัวพี่ หางไม่ยาวกว่าใครและไม่สั้นกว่าใคร ตัวกลาง แฮะ ๆ 
ที่ได้ลงรายละเอียดมาแบบไม่ปิดบัง เพราะอย่างให้ทันวงการเพาะนกอื่นเขา มีหลายคนที่ประสบผลสำเร็จไปแล้วและมีหลายคนเพิ่งเริ่ม และกำลังทำอยู่ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ที่มีพื้นที่ไม่อำนวยก็มีโอกาส ได้เห็นผลงานตัวเองเหมือนกัน 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น